ที่มา : Patai ICT Center และศูนย์ผลิตสื่อโรงเรียนไผทอุดมศึกษา
 Democracy
ส่งเสริมประชาธิปไตย
ฟัง... รู้จักฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
นำเสนอ... แสดงความคิดเห็นด้วยเหตุและผล
ยอมรับ... เสียงส่วนรวมแม้ว่าจะแตกต่างจากความคิดตน
ใช้สิทธิ... รักษา ปกป้องสิทธิตามวิถีทางที่ถูกต้องอยู่ในขอบเขต
 
          สำหรับกิจกรรม Democracy รณรงค์เรื่องประชาธิปไตยที่โรงเรียน
ของผมเห็นได้ชัดคือกิจกรรมสภานักเรียนของพี่มัธยม ซึ่งมีการหาเสียง ลงคะแนน
ตามหลักการของประชาธิปไตยอย่างชัดเจนเลยครับ และหวังว่าซักวันผมจะได้ลง
สมัครคัดเลือกบ้าง หรือกิจกรรมไผทรักชาติที่รณรงค์เรื่องต่าง ๆให้เห็นถึงความ
รักชาติไทยไม่แบ่งพรรคแบ่งพวกก็เป็นอีกกิจกรรมที่น่าสนใจครับ
กิจกรรมส่งเสริมประชาธิปไตยในโรงเรียนไผทอุดมศึกษา
  โครงการไผทฯรักชาติ
          โครงการที่โรงเรียนเป็นฐานตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาล ๑ – มัธยมศึกษาปีที่ ๓ ในการพัฒนากิจกรรมที่ทำให้นักเรียนตระหนักถึงความเป็นไทย
เอกลักษณ์ของไทยทั้งในด้านชีวภาพ กายภาพ วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม เพื่อให้นักเรียนภูมิใจความเป็นไทยและปลุกจิตสำนึกชาตินิยม
  “หมอภาษา”
          ภาษาไทยเป็นหนึ่งในเอกลักษณ์ไทยที่สำคัญที่แสดงความเป็นชาติไทยและเป็นสิ่งที่เราควรภูมิใจในการเรามีภาษาเป็นของตนเอง
แต่นับวันการใช้ภาษาที่ผิดๆทำให้เอกลักษณ์นี้ของชาติเสื่อมถอยลงดังนั้นโรงเรียนจึงจัดโครงการที่เปิดโอกาสให้นักเรียนสร้างสรรค์
ผลงานด้านสารสนเทศเพื่อการรณรงค์การออกเสียงให้ชัดเจนหรือการใช้ภาษาต้องตามหลักภาษา โดยการจัดกลุ่มสร้างสารคดีสั้นๆ
  “อร่อยย้อนยุค”
          อาหารของไทยมีความเป็นเอกลักษณ์ งดงามเป็นทั้งอาหารตาและอาหารใจที่ถูกสังสรรค์ด้วยความตั้งใจ ความประณีตและความอดทน
นอกจากนี้ในอาหารบางชนิดยังแสดงถึงความชาญฉลาดด้วยการใช้สมุนไพรในอาหารไทยรักษาโรคต่างๆ กอปรกับพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
(รัชกาลที่ ๒) ได้ทรงพระราชนิพนธ์กาพย์ชมเครื่องคาวหวานเว้ในกาพย์เห่เรือ โรงเรียนจึงจัดกิจกรรมให้นักเรียนได้ศึกษาค้นคว้าในศาสตร์แห่งการ
ทำอาหารของชาวไทย
  “ท่องแดน ๘ วัด”
          กิจกรรมที่มุ่งให้นักเรียนศึกษาสถานที่สำคัญที่ปรากฏอยู่ในนิราศพระบาท ให้นักเรียนตระหนักถึงความงดงามของศิลปะของไทยซึ่งกำลังจะเลือนหาย
  สภานักเรียน
         การจัดตั้งสภานักเรียนโดยการจำลองระบบการเลือกตั้งและจัดตั้งสภาตามระบอบประชาธิปไตยของประเทศไทย นักเรียนจะได้รู้และเข้าใจขั้นตอน
และวิธีการเลือกตั้งทุกขั้นตอน รวมทั้งสภานักเรียนยังเป็นตัวแทนนักเรียนในการนำเสนอ เรียกร้องและปกป้องสิทธิต่างๆที่นักเรียนพึงมีต่อโรงเรียน

  กิจกรรม “ชักค้านยอมความตามเหตุผล
          การใช้นวัตกรรม “กระบวนการเรียนรู้แบบชักค้านบนฐานความพอเพียง” ที่โรงเรียนพัฒนาจากระบบของศาลสอนให้นักเรียนรอบรู้
รอบคอบที่จะให้วิชาการต่างๆวางแผนและแก้ไขปัญหารวม ฝึกทักษะการใช้เทคโนโลยีต่างๆพัฒนาคุณภาพงานของตนเอง รวมทั้งรักษาสมดุลของสังคม
โดยการเอาชนะกันด้วยหลักฐานและเหตุผล การยอมรับเสียงส่วนใหญ่เกื้อกูลและส่งเสริมกันบนวิถีความพอเพียงและทางสายกลาง
          • วันทอง 2007: มองอดีต ปัจจุบัน สู่วันข้างหน้า ด้วยวิถีความพอเพียง

 
 
Best view with FireFox & IE5.5 or later at 1024x768 resolution
Copyright © 2009 , Patai Udom Suksa Schoo, All Right Reserved

http://www.patai.th.edu
Designed by Patai ICT Center