สาเกนั้น สำคัญไฉน :: รู้จักลึกซึ้ง สาเกน่าทึ่งกว่าที่เราคิด :: สรรพสิ่งล้วนพันเกี่ยว :: สาเกมากคุณค่า :: ร่วมอนุรักษ์ไว้ สาเกไทยอยู่คู่เมือง :: รวมพลังความคิดผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้
 
ด้านชีวภาพ
ข้อมูล
         
ชื่อวิทยาศาสตร์ Oecophylla Smaragdina F.(มด)
รูปร่างลักษณะและการเจริญเติบโต
          มดแดงจัดอยู่ในวงศ์ Formicidac เป็นมดชนิดหนึ่ง ลำตัวเป็นสีส้ม ภาคเหนือเรียก มดส้ม ขนาดลำตัวประมาณ 0.5 – 1 เซนติเมตร ขาขาว ชอบอาศัยทำรังอยู่บนกิ่งต้นมะม่วง ลำไย เป็นส่วนใหญ่ โดยการหอใบต้นมะม่วงหรือใบลำไยเข้าหากัน ไข่มดแดงสีขาวขุ่นมีหลายขนาดฟองโตที่สุด ขนาดจะใหญ่กว่าพ่อ – แม่ อาหารของมดแดงได้แก่ น้ำหวานที่เพลี้ยขับถ่ายออกมา
 วงจรชีวิต  แบ่งเป็น 3 ระยะ
 พฤติกรรมทั่วไป 
         มดแดงไม่ใช่เป็นศัตรูกับต้นไม้โดยตรง แต่จะเป็นพาหะนำแมลงพวกเพลี้ยแป้ง หรือเพลี้ยหอยมาเลี้ยงไว้บนต้น เพื่อเอาประโยชน์จากเพลี้ยเหล่านั้น โดยเฉพาะน้ำหวานที่เพลี้ยขับถ่ายออกมา การที่มดแดงเอาใบมะม่วง หรือลำใย ห่อกันเป็นรังทำให้ใบไม้ขาดการสังเคราะห์แสงลดต่ำลง จนกระทั่งใบเปลี่ยนเป็นสีเหลืองอมน้ำตาลและแห้ตายติดอยู่บนรังมด นอกจากนี้มดแดงยังเป็นอันตรายต่อการปฏิบัติงาน เช่น การเก็บผล การตัดแต่งกิ่ง จะถูกมดแดงรุมกัด
ชื่อวิทยาศาสตร์ Pseudococcus sp.(เพลี้ยแป้ง)
รูปร่างลักษณะ
          
          เพลี้ยแป้งเพศเมียมีลำตัวยาวประมาณ 3.0 มิลลิเมตร มีสีเหลืองหรือชมพู มีผงสีขาว คล้ายผงแป้งปกคลุมลำตัว
การเจริญเติบโต
          เพลี้ยแป้งวางไข่เป็นกลุ่ม กลุ่มละ 100 – 200 ฟอง ตัวเมีย 1 ตัว สามารถวางไข่ 600 – 800 ฟอง ไข่จะวางเป็นกลุ่มและถูกเก็บไว้ภายในอวัยวะที่คล้ายถุง ใต้ท้องตัวเมีย ไข่จะถูกฟักในถุงใต้ท้องตัวเมีย ประมาณ 6 – 10 วัน ตัวอ่อนที่ฟักออกจากไข่ใหม่ๆ มีสีเหลืองอ่อน ไม่มีผงสีขาว ตัวเมียมีการลอกคราบ 3 ครั้ง ครั้งที่ 3 ตัวเมียจะเริ่มวางไข่ ส่วนตัวผู้ลอกคราบ 4 ครั้ง ตัวผู้มีขนาดเล็กกว่าตัวเมีย
วงจรชีวิต 
พฤติกรรมทั่วไป
          เพลี้ยแป้งมีการผลิตน้ำหวานเหนียวๆ ซึ่งเป็นของหวานที่มีน้ำตาลอยู่มาก มดชอบกินน้ำหวานของเพลี้ยแป้ง และจะคอยปกป้องเพลี้ยแป้ง โดยขับไล่ตัวน้ำ และตัวเบียนให้หนีไป