แบบทดสอบก่อนเรียน | แผนการสอน | ผลการศึกษา | เกร็ดเล็กเกร็ดน้อย | Vocab 8 Wat | สรุปผลการศึกษา

เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรมหาวิหาร ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันดำ เหนือพระราชวังเดิม
 


วัดนี้มีมาแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยามารุ่งเช้าที่หน้าวัดมะกอก จึงทรงกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ปฏิสังขรณ์ แล้วเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น "วัดแจ้ง" ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ ๑ ครั้งยังทรงดำรงพระอิสริยยศเป็นสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร ได้ทรงปฏิสังขรณ์และพระราชทานนามใหม่ว่า "วัดอรุณราชธาราม" และได้กลายมาเป็นวัดประจำราชการด้วย จากนั้น ในสมัยรัชกาลที่ ๔ ได้ทรงปฏิสังขรณ์เพิ่มเติมและเปลี่ยนนามวัดเป็น "วัดอรุณาราชวราม"


วัดนี้นับเป็นวัดที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์อยู่หลายครั้ง เช่นครั้งที่พระยามหากษัตริย์ศึก (รัชกาลที่ ๑) แม่ทัพแห่งกรุงธนบุรีกรุงเวียงจันทร์แตก ก็ได้อัญเชิญพระแก้วมรกตมาประดิษฐานไว้ที่วัดนี้เป็นแห่งแรก ก่อนจะอัญเชิญไปประดิษฐานในพระอุโบสถวัดพระศรีศาสดารามภายหลัง


จุดเด่นที่สุดของวัดอรุณฯ คือพระปรางค์ ซึ่งมีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ตั้งอยู่หน้าวัดทางทิศใต้ เดิมมีความสูง ๘ วา แต่ได้รับการก่อเสริมให้สูง ๓๓ วาเศษในสมัยรัชกาลที่ ๓ เพื่อให้สมกับเป็นพระมหาธาตุประจำกรุงรัตนโกสินทร์ พระปรางค์อันยิ่งใหญ่คือตัวแทนของเขาพระสุเมรุ ศูนย์กลางของโลกและจักรวาลที่สถิตแห่งเทพ ส่วนฐานล่างเป็นสัญลักษณ์แทนภพภูมินรก-สวรรค์ และพระปรางค์รอบทั้งสี่ทิศน่าจะหมายถึงแผ่นดิน ๔ ทวีป ตามคติในไตรภูมิยอดพระปรางค์เป็นนภศูลมีมงกุฎปิดทอง มีพิธียกยอมนภศูลตามประเพณีโบราณ ในเดือนอ้าย พ.ศ.2390 โดยครั้งนั้นได้นำพระมงกุฎของพระประธานที่วัดนางนอง ย่านบางขุนเทียน สวมไว้เหนือ ยอดนภศูลเดิมอีกทีหนึ่ง ซึ่งไม่เคยปรากฏในโบราณประเพณีมาก่อน ภายในพระอุโบสถ พระพุทธอาสน์ของพระประธานเป็นสถานที่ที่บรรจุพระบรมอัฐิของรัชกาลที่ 2


นอกจากนี้ ยังมีพระบรมรูปสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีประทับบนบัลลังก์ ประดิษฐานอยู่ภายใจวิหารน้อยด้านหน้าพระปรางค์ รอบๆ พระบรมรูปมีพระบรมสาทิสลักษณ์ของพระองค์ ซึ่งเชื่อว่า วาดขึ้นจากจินตนาการ และยังมีพระแท่นที่ประทับแบบจีนเชื่อว่าเป็นพระแท่นของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี เมื่อครั้นพระองค์ทรงผนวชและถูกคุมขังในวิหารนี้ คราวกบฏพระยารังสรรค์ในตอนปลายรัชกาล แต่ละวันจะมีผู้มาสักการบูชาพระบรมรูปที่วิหารน้อยนี้เป็นจำนวนมาก


งานที่สร้างขึ้นในช่วงนี้หลายส่วนได้รับอิทธิพลจากจีน เช่น พระวิหารประดับผนังด้วยกระเบื้องเคลือบลายไทย ที่เรียกว่า ลายก้านแย่งขบวนไทย กระเบื้องเหล่านี้เชื่อว่าสั่งมาจากเมืองจีน บริเวณรอบๆ วัดยังมีตุ๊กตาจีนที่มากับเรือสำเภา ครั้งที่ไทยติดต่อค้าขายกับจีนในต้นสมัยรัตนโกสินทร์ ขากลับน้ำหนักเรือเบา จึงนำตุ๊กตาเหล่านี้ถ่วงน้ำหนักมาเพื่อกันเรือล่ม เรียกว่า "ตุ๊กตาอับเฉา"


สัญลักษณ์ของวัดอรุณฯ อีกอย่างคือยักษ์ทวารบาบ ที่เรียกว่า ยักษ์วัดแจ้ง ซึ่งเป็นที่รู้จักกันมานานในฐานะเป็นยักษ์ไทยที่ชอบข้ามฟากไปตีกับยักษ์วัดโพธิ์ (วัดเชตุพนวิมลมังคลาราม) อยู่เสมอ เล่ากันว่า คราวหนึ่งยักษ์วัดแจ้งกับยักษ์วัดโพธิ์ตีกันหนักถึงขนาดบ้านเมืองราพณาสูรบริเวณนั้นจึงเรียกว่า "ท่าเตียน" ยักษ์ที่ยืนเฝ้าปากประตูซุ้มมงกุฎทั้งสองตนนี้ เป็นยักษ์ที่ปรากฏอยู่ในวรรณคดีเรื่องรามเกียรติ์ ยักษ์กายสีขาว คือ สหัสเตชะ ส่วนกายสีเขียวคือ ทศกัณฐ์

สหัสเตชะ ทศกัณฐ์


ย่านวัดอรุณถือเป็น "หัวแหวน" ของกรุงธนบุรี เช่นเดียวกับที่เกาะรัตนโกสินทร์คือหัวแหวนของกรุงรัตนโกสินทร์ สถานที่เก่าแก่และน่าสนใจหลายแห่งตั้งเรียงรายไปตามถนนอรุณอมรินทร์ตั้งแต่ต้นจนสุดปลายถนน เริ่มจากพระราชวังเดิมของพระเจ้ากรุงธนบุรีไปจนถึงอมรินทรา


ต่อมาสุนทรภู่ ได้ย้ายมาจำพรรษาที่วัดเชตุพนฯ เพราะพระองค์เจ้าลักขณานุคุณ ซึ่งเคยทรงอุปการะสุนทรภู่ได้อุปสมบทและจำพรรษาอยู่ที่นั่น ได้กราบทูลกรมสมเด็จพระปรมานุชิตชิโนรส ขออนุญาตให้พระภู่ไปอยู่ด้วย


ชีวิตสุนทรภู่ อยู่วัดพระเชตุพนฯ ได้พรรษาหนึ่ง ก็ไปนมัสการพระแท่นดงรัก จังหวัดกาญจนบุรี รุ่งขึ้นอีกปีหนึ่ง ไปหายาอายุวัฒนะที่วัดเจ้าฟ้าอากาศ อยุธยา หวังจะชุบตัวเป็นหนุ่ม แต่ขณะทำพิธีเกิดพายุฝนตกหนัก ผู้ที่ไปด้วยต่างตกใจสิ้นสติไปตามๆกัน เมื่อกลับมากก็ย้ายออกจากวัดพระเชตุพนฯ ปรากฏผลงานนิราศวัดเจ้าฟ้า ที่สุนทรภู่แต่งในนามของหนูพัด(เป็นบุตรที่เกิดจากภรรยาชื่อจัน) "


   
  เณรหนูพัดหัดประดิษฐ์คิดอักษร
เป็นเรื่องความตามคิดท่านบิดร กำจัดจรจากนิเวศเชตุพน"
"จึงมาหายาอายุวัฒนะ ตามไดด้ปะลายแทงแถลงไซร้"
"แต่เรือนรักรักนักก็มักหน่าย รักละม้ายมิได้ชมสมประสงค์
ยิ่งรักมากพากเพียรยิ่งเรียนเวียนวง มีแต่หลงลมลวงนำทรวงโทรม




บรรณานุกรม

ชีวิตและผลงานของสุนทรภู่. กรุงเทพมหานคร : องค์การค้าคุรุสภา, 2543.
ศิลปวัฒนธรรม. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์เจ้าพระยา, 2528.
ประวัติวัดชิโนรสารามวรวิหารและกฎแห่งกรรม. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและวัสดุภัณฑ์, 2546.


สมาคมภาษาและหนังสือแห่งประเทศไทย. อนุสรณ์สุนทรภู่ 200 ปี. กรุงเทพมหานคร : อมรินทร์การพิมพ์, 2529.


คู่มือนำเที่ยววัดโพธิ์. วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรวิหาร. กรุงเทพมหานคร, 2540.


พระมหาสวัสดิ์ อหึสโก. สิ่งน่ารู้ในวัดอรุณราชวราราม. กรุงเทพมหานคร : รุ่งวัฒนาการพิมพ์, 2537.


พระมหาอุดม อติเมโธ. ชีวประวัติและผลงานของสุนทรภู่. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์เลี่ยงเชียง,
(ไม่ปรากฏปีที่พิมพ์)


กรมศิลปากร. สุนทรภู่...ที่คนไทยไม่รู้จัก. กองบรรณาธิการ ศิลปวัฒนธรรม, 2547.


พระมหาอุดม อติเมโธ. พระพุทธเทวริลาส. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ธรรมรักษ์ราชบุรี, (ไม่ปรากฏปีที่พิมพ์)
เปลื้อง ณ นคร. สุนทรภู่ครูกวี. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์ข้าวฟ่าง, 2542.


พระมหาสวัสดิ์ อหึสโก. สิ่งน่ารู้ในวัดอรุณราชวราราม. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย, 2541.


นิดดา หงส์วิรัตน์. Temples วัด. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์แสงแดด-เพื่อนเด็ก, 2544.





ตั้งอยู่เลขที่ 201 ถ.วิภาวดีรังสิต แขวงตลาดบางเขน เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร 10210
โทร. 0-2521-1457-8 FAX. 0-2551-2233
http://www.patai.th.edu E-Mail : patai1@patai.th.edu