ชื่อโครงการ: โครงการโรงเรียนพี่โรงเรียนน้องไทยและนิวซีแลนด์:
สานสายใยผ่านอินเตอร์เน็ต ฉลองครบรอบความสัมพันธ์ 50 ปีไทย-นิวซีแลนด์
คำอธิบายโครงการโดยย่อ:
โครงการมีจุดมุ่งหมายเพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างประเทศไทยและประเทศนิวซีแลนด์
โดยอาศัยเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการศึกษาเป็นเครื่องมือที่สำคัญ
นอกจากนี้แล้วนักเรียนและครูทั้งสองประเทศจะได้มีโอกาสในการแลกเปลี่ยน เรียนรู้ประสบการณ์ร่วมกันระหว่างโรงเรียนพี่
โรงเรียนน้องเพื่อที่จะส่งเสริมให้เกิดความสัมพันธ์และความเข้าใจอันดีของประชากรทั้งสองประทศ
หน่วยงานที่รับผิดชอบ:
กระทรวงต่างประเทศ
กระทรวงศึกษาธิการ
วันที่เริ่มเขียนโครงการ
1 สิงหาคม พ.ศ. 2548
แหล่งเงินทุนที่จะสนับสนุน
กระทรวงต่างประเทศของประเทศไทย
กระทรวงต่างประเทศของนิวซีแลนด์
โรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการ
สมาคมผู้ปกครองและครูของโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการ
โครงการโดยสรุป
ไทยและนิวซีแลนด์ สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตต่อกันมาเป็นเวลาครบ 50 ปี
ในปี พ.ศ. 2549 จึงเป็นโอกาสอันดีที่จะมีการส่งเสริมให้เยาวชนของทั้งสองประเทศได้ติดต่อกันให้ใกล้ชิดมากยิ่งขึ้น
เนื่องจากทั้งสองประเทศมีพื้นฐานที่ยาวนานและลึกซึ้งกันอยู่แล้ว ดังนั้นโครงการโรงเรียนพี่โรงเรียนน้องจะเป็นการเชื่อมโยงเยาวชนของทั้งสองประเทศไทยได้อย่างมีประสิทธิภาพและได้ผลอย่างรวดเร็ว
โดยให้นักเรียนของไทยและนิวซีแลนด์ติดต่อกันผ่านทางอินเตอร์เน็ตและให้มีการแลกเปลี่ยนนักเรียนและครูระหว่างโรงเรียนพี่และโรงเรียนน้องเพื่อกระชับความสัมพันธ์ในระดับเยาวชนและครูของไทยและนิวซีแลนด์ให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น
อันจะเป็นการส่งเสริมมิตรภาพและความเข้าใจอันดีระหว่างเยาวชนของทั้งสองประเทศ.
ผลสำเร็จของโครงการนี้จะนำเสนอในรูปของรายงานจากกิจกรรมต่าง ๆ ที่นักเรียนและครูของทั้งสองประเทศได้เข้าร่วมโครงการ
นักเรียนจะได้รายงานถึงสิ่งที่ได้เรียนรู้จากโครงการที่สะท้อนออกมาจากแนวคิดและรายงาน
ข้อเท็จจริงจากเว็บไซด์ที่นักเรียนและครูร่วมกันสร้างขึ้นของแต่ละโรงเรียน
นอกจากนี้จะได้มีการรายงานผลระหว่างการดำเนินโครงการด้วย ประกอบกับรายงานหรือเรียงความที่นักเรียนและครูได้ร่วมในโครงการแลกเปลี่ยนบุคลากรระหว่างโรงเรียนพี่โรงเรียนน้องที่ทำให้นักเรียนและครูทั้งสองประเทศได้มีประสบการณ์ตรงในสภาพแวดล้อมของโรงเรียนและประเทศที่เป็นเจ้าภาพ
ซึ่งรายงานทั้งหมดที่กล่าวมาจะเผยแพร่ให้สาธารณชนทั้งสองประเทศและประชาชนประเทศอื่น
ๆ ที่สนใจทางอินเตอร์เน็ต
1. หลักการและความเป็นมาของโครงการ
ไทยและนิวซีแลนด์ สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตต่อกันมาเป็นเวลาครบ 50 ปี
ในปี พ.ศ. 2549 จึงเป็นโอกาสอันดีที่จะมีการส่งเสริมให้เยาวชนของทั้งสองประเทศได้ติดต่อกันให้ใกล้ชิดมากยิ่งขึ้น
เนื่องจากทั้งสองประเทศมีพื้นฐานที่ยาวนานและลึกซึ้งกันอยู่แล้ว ดังนั้นโครงการโรงเรียนพี่โรงเรียนน้องจะเป็นการเชื่อมโยงเยาวชนของทั้งสองประเทศไทยได้อย่างมีประสิทธิภาพและได้ผลอย่างรวดเร็ว
โดยให้นักเรียนของไทยและนิวซีแลนด์ติดต่อกันผ่านทางอินเตอร์เน็ตและให้มีการแลกเปลี่ยนนักเรียนและครูระหว่างโรงเรียนพี่และโรงเรียนน้องเพื่อกระชับความสัมพันธ์ในระดับเยาวชนและครูของไทยและนิวซีแลนด์ให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น
อันจะเป็นการส่งเสริมมิตรภาพและความเข้าใจอันดีระหว่างเยาวชนของทั้งสองประเทศ
ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2548 นายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร เห็นด้วยกับกรอบแนวคิดความร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจให้ใกล้ชิดมากขึ้นกับนายกรัฐมตรี
Helen Clark แห่งประเทศนิวซีแลนด์ ข้อตกลงความร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจให้ใกล้ชิดมากขึ้นลงนามโดย
ดร.ทะนง พิทยะ และรัฐมนตรีด้านการค้า Hon Jim Sutton ต่อหน้านายกรัฐมนตรีของทั้งสองประเทศ
ผนวกกับนายกรัฐมนตรีทั้งสองได้มองไปถึงความสัมพันธ์ที่แนบแน่นมากขึ้นของทั้งสองประเทศที่จะเฉลิมฉลองความร่วมมือทางด้านธุรกิจและกิจกรรมทางด้านวัฒนธรรมต่าง
ๆ ด้วย ในการนี้ นายกรัฐมนตรีทั้งสองได้เห็นด้วยที่จะร่วมมือกันจัดตั้งคณะกรรมการความร่วมมือที่มีประธานเป็นรัฐมนตรีของกระทรวงต่างประเทศพิจารณรากรอบแนวทางความร่วมมือกันที่ไม่เน้นทางด้านการค้า
นอกจากนี้ยังได้ประกาศเจตนารมย์ความร่วมมือที่จะส่งเสริมให้นักการเมืองรุ่นเยาว์
ได้พัฒนาความเข้าใจอันดีต่อประเทศทั้งสองได้ด้วย
ในการเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างประเทศไทยและนิวซีแลนด์ดังกล่าว
กระทรวงศึกษาธิการจะดำเนินการสนับสนุนให้โรงเรียนในสังกัดได้ก่อตั้งความร่วมมือกันผ่านทางระบบ
Internet และการแลกเปลี่ยนนักเรียนและครูของทั้งสองประเทศโดยมีโรงเรียนที่เข้าร่วมกิจกรรมที่อยู่ในภาคการศึกษาขั้นพื้นฐาน
(ประถมศึกษาและมัธยมศึกษา) ที่จะสร้างความสัมพันธ์กับโรงเรียนในประเทศนิวซีแลนด์
แนวคิดริเริ่มดังกล่าวนี้จะเน้นที่การนำเอา ICT มาใช้ในการศึกษาซึ่งเป็นวิธีการที่จะให้นักเรียน
ครู ได้เพิ่มพูนการเรียนรูและทักษะการสอนโดยใช้ ICT เป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิผล
ยิ่งกว่านั้นโครงการนี้จะแสดงให้เห็นว่า เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในวงการศึกษาที่นำมาใช้ในระดับโรงเรียนและห้องเรียนสามารถเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่จะเสริมให้เกิดความร่วมมือกันในด้านเศรฐกิจได้อย่างแนบแน่นมากขึ้น
จะเห็นได้ว่าผู้เชี่ยวชาญหลาย ๆ ท่านกล่าวไว้ว่า เทคโนโลยีจะเรียนรู้ได้ดีที่สุดภายใต้บริบทของการประยุกต์ใช้จริง
กิจกรรม โครงการหรือปัญหาต่าง ๆ เป็นที่สะท้อนและเลียนแบบสถานการณ์ในชีวิตประจำเป็นสื่อข้อมูลที่มีประสิทธิผลสำหรับเทคโนโลยีการเรียนการสอน
ดังนั้น นักเรียนจะสามารถเรียนรู้ได้ว่า
แม้เทคโนโลยีจะมีความสลับซับซ้อน ก็ยังจะเป็นเพียงวิธีทางหนึ่งของการทำงาน
มีผลกระทบของเทคโนโลยีต่อชีวิตของนักเรียนและบริบทของการทำงาน
เราจะกำหนดกระบวนการ เครื่องมือ เทคนิค ที่จะใช้ และเมื่อใดที่จะใช้เทคโนโลยีได้
เราจะสามารถใช้และประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการแก้ปัญหา
การตัดสินใจ , การสืบเสาะหาความรู้ และการวิจัยในบริบทของกลุ่มสาระวิชาได้
เทคโนโลยีจะช่วยให้นักเรียนในปัจจุบันในระดับปฏิบัติงานและการเรียนรู้ตลอดชีวิต
และชีวิตประจำวันของนักเรียนโดยส่งเสริมการสืบเสาะหาข้อมูล การให้ข้อมูลย้อนกลับและให้เป็นบุคคลที่มีเอาใจใส่สิ่งรอบตัวเรา
เทคโนโลยีในปัจจุบันเนื่องจากมีความก้าวหน้ามากและมีการใช้งานกันอย่างต่อเนื่อง
โดยเฉพาะอย่างยิ่งเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่เสริมและเปลี่ยนแปลงกิจกรรมต่างๆของคนเราอย่างเห็นได้ชัด
และเสริมให้เรามีชีวิตอยู่ ทำงานและคิดในแนวทางที่ไม่เคยคาดคิดมาก่อน
เนื่องเพราะเทคโนโลยี มีผลกระทบต่อชีวิตเราอย่างต่อเนื่องในระดับบุคคล กลุ่ม
และระดับชาติ นักเรียนมักจะได้เตรียมที่จะให้เกิดความเข้าใจ ใช้และประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างมีประสิทธิผล
มีประสิทธิภาพและมีจริยธรรมในการใช้
ดังนั้นโครงการนี้ ใช้ประโยชน์ของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเป็นเครื่องมือในการเสริมสร้างการเรียนรู้ของนักเรียนและเสริมความเข้าใจอันดีระหว่างกันในด้านวัฒนธรรมของประเทศไทยและนิวซีแลนด์
ถ้าการลงทุนด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารด้านการศึกษาของทั้งสองประเทศที่มีการใช้อย่างคุ้มค่า
ดังนั้นการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการศึกษาทั้งสองประเทศให้เกิดประสิทธิผลมากขึ้นในด้านที่จะส่งเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างสองประเทศและเพื่อแสดงให้เห็นถึงการศึกษาในศตวรรณที่
21 โดยนักเรียนและครูได้เรียนรู้และแลกเปลี่ยนทัศนคติ แนวคิด ความรู้จากประสบการณ์จริงและเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
ผู้ที่มีส่วนร่วมในโครงการองค์กรใดบ้างต้องการมีส่วนร่วมในโครงการ?
ผู้ที่มีส่วนร่วมในโครงการประกอบด้วย:
กระทรวงต่างประเทศ ผู้ให้งบประมาณสนับสนุน
ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ผู้ประสานงาน
สำนักความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เลขานุการโครงการ
โรงเรียนสมาชิกในฝ่ายของประเทศไทย :
โรงเรียนราชสีมาวิทยาลัย จังหวัดนครราชสีมา
โรงเรียนสวนกุหลาบนนทบุรี จังหวัดนนบุรี
โรงเรียนอำนวยศิลป์ กรุงเทพมหานคร
โรงเรียนไผทอุดมศึกษา กรุงเทพมหานคร
ผู้ที่ได้รับประโยชน์จากโครงการ. ใครจะเป็นผู้ที่ได้รับผลประโยชน์จากโครงการบ้าง?
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับในส่วนของประชาชนของประเทศไทยและนิวซีแลนด์คือ
ประชาชนจะสามารถเข้าถึงและศึกษาข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทยและนิวซีแลนด์เพื่อให้ได้รับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับบริบทของวัฒนธรรม
เศรษฐกิจ สังคมและการศึกษาและเรื่องอื่น ๆ ของทั้งสองประเทศ
นักเรียนทั้งจากประเทศไทยและนิวซีแลนด์ได้เพิ่มพูนความเข้าใจเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของทั้งสองประเทศ
ผนวกกับนักเรียนจะสามารถมีช่องทางในการพัฒนาความสัมพันธ์ที่ดีในระดับจุลภาคเพื่อที่จะส่งเสริมความเข้าใจอันดีระหว่างเยาวชนของทั้งสองประเทศ
ครูและนักเรียนจากโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการมีโอกาศที่จะแลกเปลี่ยนเรียนรู้และเยี่ยมโรงเรียนพี่โรงเรียนน้องของตนเองและสถานที่ต่าง
ๆ ภายในประเทศเข้าภาพทั้งสองเพื่อให้เกิดประสบการณ์ตรงและเรียนรู้ความแตกต่าง
ความเหมือนระหว่างบริบททางด้านวัฒนธรรมของทั้งสองประเทศ ซึ่งกิจกรรมดังกล่าวนี้จะช่วยให้เกิดความเข้าใจอันดียิ่งขึ้นโดยการมีประสบการณ์จากสภาพความเป็นจริงในประเทศทั้งสอง
พันธกิจและความยั่งยืนของโครงการ
โครงการนี้จะต้องได้รับความเห็นชอบและอนุมัติโดยรัฐบาลของทั้งสองประเทศ เงินทุนสนับสนุนส่วนหนึ่งจะมาจากโรงเรียนและผู้ปกครองของโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการ
กระทรวงต่างประเทศจะเป็นผู้สนับสนุนกิจกรรมโดยให้เงินงบประมาณภายในประเทศ
และโรงเรียนพี่โรงเรียนน้องในประเทศเจ้าภาพจะทำหน้าที่เป็นเจ้าภาพให้กับนักเรียนและครูแลกเปลี่ยนเมื่อมีการเยี่ยมเยียนโรงเรียนในระหว่างปิดภาคฤดูร้อน
ซึ่งกิจกรรมเช่นเดียวกันนี้ก็จะปฏิบัติในอีกประเทศเช่นเดียวกัน
2. ข้อเสนอกิจกรรม
The purpose of the proposed activities section of the Project Document
is to ensure that alternative strategies or approaches to effectively
implement. What possible approaches to the project were identified in
the project analysis? Are there other possibilities? What are the advantages
pursuing each activity? What strategy has been selected as the best approach
to solve the problem? Why is this option regarded as the best approach?
|